วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณโรงแรม โฮเทล วิสมา ราชบุรี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมประชุมออกแบบหลักสูตรการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยุชุมชน ประมาณ 40 สถานี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานของวิทยุชุมชนให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของเครือข่ายกลุ่มของวิทยุชุมชนในการกำกับดูแลกันเอง โดยตัวมาตรฐานทางจริยธรรมที่จัดทำขึ้น จะเป็นตัวที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของวิทยุชุมชนกับวิทยุทดลองประกอบกิจการอื่นๆ ทำให้วิทยุชุมชนเกิดความ น่าเชื่อถือจากสังคมภายนอก และเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยุชุมชนในการฝึกการกำกับดูแลกันเอง ให้ข้อมูล ข่าวสารที่สื่อสารมีประโยชน์กับประชาชนในชุมชนจริงๆ ประชาชนในพื้นที่สามารถมีช่องทางร้องเรียนหากพบว่า วิทยุชุมชนของตนมีการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์กับ ชุมชน หรือมีการทำผิดหลักการหรือเจตนารมณ์ของวิทยุชุมชน ขึ้นในมิติการู้เท่าทันสื่อ เพราะในปัจจุบันจากการที่ภูมิทัศน์สื่อได้เปลี่ยนไป การสื่อสารได้เข้าสู่ยุคหลอมรวม ข้อมูลข่าวสารเชื่อมถึงกัน การพัฒนาให้เครือข่ายวิทยุชุมชนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจึงมีความจำเป็น รวมทั้งการทำให้เครือข่ายวิทยุชุมชนสมารถวิเคราะห์สื่อต่างๆให้เกิดความรู้เท่าทัน เพราะสถานีวิทยุชุมชน มีหน้าที่ในการกระจายข่าวสารสู่ชุมชนและสังคม หากนักจัดรายการวิทยุชุมชน ไม่สามารถวิเคราะห์และรู้เท่าทันถึงข้อมูลหรือข่าวสารที่รับมาได้ เมื่อสื่อสารออกไปก็จะทำให้ชุมชนหรือผู้รับสารรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
ในภาระกิจการปฏิรูปสื่อวิทยุชุมชนถือได้ว่าเป็นรูปธรรมหนึ่ง ที่มีความชัดเจนในมิติของการเปลี่ยนมือการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่จากรัฐมาเป็นของประชาชน แต่การพัฒนาให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการทำการผลิตข่าวสารดีๆสู่สังคม มีมาตรฐานทางจริยธรรมในการทำงานในการกำกับดูแลกันเองและนำไปสู่การยอมรับของประชาชนในสังคม ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ และการสนับสนุนจากหลาย ฝ่าย โครงการพัฒนามาตรฐานจริยธรรมและการรู้เท่าทันสื่อของเครือข่ายวิทยุชุมชนจึงมีความจำเป็น และถือเป็นอีกขั้นหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญ ของเครือข่ายวิทยุชุมชนในสังคมไทย จากผลการขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิทยุชุมชน” ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้งนี้เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายวิทยุชุมชนใน 4 ภูมิภาค เพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็น พูดคุยแลกเปลี่ยนและจัดทำข้อเสนอสื่อวิทยุชุมชนในการกำกับติดตามและมุมมองต่ออนาคตภาพของสื่อท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์สื่อให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยมีรูปแบบการสนับสนุนและการกำกับติดตามวิทยุชุมชน ภายใต้ประเด็นดังนี้
1 การสร้างสรรค์รายการวิทยุ/ สื่อชุมชนให้เป็นสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
2 วิทยุและสื่อชุมชน/ ท้องถิ่น ในประเด็นต่อ “การปรับตัว”
3 ทางออก/ ทางเลือกสำหรับสื่อชุมชน สื่อวิทยุ
4 ข้อเสนอในการขับเคลื่อนวิทยุและสื่อชุมชน
5 จริยธรรมสื่อ
6 การติดตามและการกำกับดูแลสื่อวิทยุและสื่อชุมชน
กระบวนการขับเคลื่อนและการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อวิทยุ/ สื่อท้องถิ่นนั้น ถึงแม้จะมีการขยับไปเป็นรูปแบบออนไลน์ สถานการณ์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปแต่คนยังฟังสื่อวิทยุอยู่ อาจจะเป็นการฟังผ่านออนไลน์หรืออื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์สื่อ จากการหลอมรวมสื่อเพื่อใช้สื่อ ชุมชนเกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆที่สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละภูมิภาค สิ่งสำคัญคือการสื่อสารของ สื่อชุมชนต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้ฟังมีโจทย์ในการออกแบบร่วมกัน เช่น การมีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหา และสะท้อนความคิดเห็นในชุมชน ในบางพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีช่องว่างของ สังคมซึ่งสื่อสาธารณะต้องประสานช่องว่างด้วยใช้สี่อชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ การขับเคลื่อนและการทำงานเพื่อ พัฒนาศักยภาพวิทยุชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาใน กลุ่มเครือข่ายวิทยุชุมชน ในรูปแบบของวิทยุประกอบธุรกิจ วิทยุสาธารณะ สื่อวิทยุชุมชนและสำนักข่าวท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ทำให้เห็นถึงบทบาทของสื่อชุมชนในการสื่อสารประเด็นทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเด็ก เยาวชน สุขภาพ ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม ผู้หญิงคนพิการ ผู้สูงอายุ อาชีพ เศรษฐกิจชุมชน ท่องเที่ยว ชุมชน ศาสนา ชาติพันธุ์ เกษตร เพื่อเป็นช่องทางบรรเทา ทุกข์ของประชาชน รับข้อร้องเรียน บรรเทาสาธารณภัย และการรับแจ้งอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยมีกลไกที่สำคัญ 3 กลไกประกอบด้วย กลในการปกป้องและป้องกัน กลไกในการเฝ้าระวัง กลไกในการคุ้มครองเพื่อสร้างสรรค์สื่อ และเป็นโอกาส ทางเลือก หมายรวมถึงการสร้างพื้นที่กลาง พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่เรียนรู้ และเพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายสื่อชุมชน 4 ภูมิภาค การพัฒนาศักยภาพบุคลากรวิทยุ/สื่อชุมชน การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับพื้นที่และการ พัฒนานวัตกรรมสื่อชุมชน/วิทยุ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อเสนอนโยบายสื่อ กฎหมายและกฎระเบียบ จนเกิด “วาระสื่อ” ในระดับภาคและระดับประเทศต่อไป